มะปราง ก็มีทั้งชนิดที่เรียกว่า มะปรางหวาน มะปรางเปรี้ยว ปัจจุบันได้พัฒนาสายพันธุ์กลายเป็นผลไม้ที่มีรสชาติ จนเป็นผลไม้หายากที่มีชื่อเรียกว่า มะยงชิด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าไข่ไก่เลยทีเดียว
มะปราง เป็นชื่อของผลไม้ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็บ้านเราเมืองไทยนี่เอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มะปรางจะมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ สูง 15-30 เมตร มีรากแก้วที่แข็งแรง ใบเรียว กว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ดอกมะปรางจะออกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีสีเหลือง ผลรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลมะปรางดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลมะปรางสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลของมะปรางนิ่ม เนื้อมะปรางมีสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิด รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมะปรางจะมีทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดมะปรางคล้ายเมล็ดมะม่วง
มะปรางจะมีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีใบมาก ไม่มีผลัดใบนอก กิ่งก้านมะปรางจะแตกแขนงจนทึบ รากแก้วของมะปรางค่อนข้างแข็งแรงมากจึงสามารถทนความแห้งแล้งได้ดี ดอกมะปรางออกเป็นช่อและก็มีสีเหลืองเมื่อบาน ผลของมะปรางจะมีขนาดพอๆ กับไข่ของนกพิราบและก็มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มเวลาสุก
พันธุ์ของมะปราง
มะปรางแบ่งตามลักษณะพฤกษศาตร์แบ่งได้ 3 ชนิด
1. Bouae microphylla มะปรางที่มีใบเล็ก มีรสเปรี้ยว มะปรางป่าหรือมะปริงทางภาคใต้ พวกนี้มีรสเปรี้ยวผลเล็กสำหรับทางภาคใต้นั้นมักนำมาบริโถคผลดิบ ใช้ตำน้ำพริก ใส่แกงส้ม หรือเอามาจิ้มกับมันกุ้ง มะปริงมีขึ้นอยู่ทั่วไปทางภาคใต้
2. Bouae macrophylla มะปรางใบใหญ่ ขนาดใบเกือบเท่าใบมะม่วง เป็นพันธุ์มะปรางต่างประเทศ มีการปลูกในแถวแหลมมลายู เท่านั้น
3. Bouae burmanica มะปรางที่ปลูกกันโดยทั่วไป เรียกมะปรางบ้านหรือมะปรางสวน
มะปรางที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แบ่งได้ 3 ชนิด
รู้จักกับมะปรางแต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไร
มะปรางเปรี้ยว หมายถึง มะปรางที่ออกผลมีรสเปรี้ยวจัด แม้แต่ผลสุกก็ตาม มีทั้งผลเล็กและผลโต ชาวสวนเรียกว่า กาวาง การใช้ประโยชน์โดนการนำไปแช่อิ่มหรือดอง
มะปรางหวาน มีผลขนาดเล็กถึงใหญ่ เรียกรวม ๆว่า มะปราง เป็นมะปรางหวานนั้นเอง มะปรางต้นที่มีชื่อที่สุดคือต้นในวังสระประทุม (มะปรางท่าอิฐ)
มะยง สามารถแยกได้ 2 ชนิด คือพวกที่มีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เรียกว่า มะยงชิด และมะยงชิด ที่มีรสหวานอมเปรี้ยวมาก เรียกว่า มะยงห่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น