มะยงชิด ต้นกำเนิดและแหล่งที่ใหญ่ที่สุด คือจังหวัดนครนายก เป็นผลไม้ราคาดี ยอดนิยม เพียงปีละครั้งที่มีโอกาสได้ชิม เพราะว่าเป็นผลไม้ที่ไม่อาจจะจัดการให้ออกนอกฤดูได้ ท่านที่สนใจจะปลูกมะยงชิด นครนายก เพื่อเป็นรายได้หลัก หรือรายได้เสริม ก็เป็นไม้ผลที่คิดว่ารุ่งกว่าอย่างอื่นในท้องตลาด เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่ราคาจำหน่ายสูง
สำหรับเคล็ดลับในการปลูกมะยงชิดนั้น บางครั้งเราต้องใช้แนวทางการจัดการสวนแบบชีวภาพร่วมด้วย แต่ละสวนก็จะมีเคล็ดลับในการปลูกมะยงชิดที่แตกต่างกันออกไป สำหรับสวนมะยงชิดของเราเป็นแบบผสมผสานตามหลักทฤษฎีใหม่ ภายใต้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง ต้อง มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมด้วย เพราะว่ามีธาตุอาหารต่างๆ โดยครบถ้วน จะปรับปรุงโครงสร้างของลำต้นให้แข็งแรง เพื่อให้ได้มะยงชิดที่ผลใหญ่ ผิวสวย สีแดงส้มจัดๆ เนื้อแน่นกรอบ หวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ทานได้โดยปลอดภัย
การคัดเลือกสายพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าปลูกสายพันธุ์ที่ไม่ดีถึงจะมีการบำรุงดูแลต้นดีแค่ไหน ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นเรื่องสายพันธุ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การได้สายพันธุ์จากเจ้าของสวนที่มีพันธุ์แท้จริงๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าต้องการพันธุ์ทูลเกล้า ก็ต้องมาที่นครนายก (สวนผมพันธุ์แท้ครับ) เพราะอย่างบางท่านไม่ใช่เซียนมะยงชิด ซื้อจากที่ต่างๆบ้าง ข้างทางบ้างก็ดูไม่ออก เมื่อปลูกไปก็เสียเวลาปลูก กว่าจะทราบก็นานหลายปี เรียกว่าเสียเวลาปลูกกันไปนานเลยทีเดียว
เคล็ดลับในการใช้สารเคมีกับมะยงชิดนั้นถามว่ามีความจำเป็นแค่ไหน และสามารถใช้ได้มั๊ย? ตอบได้นะครับว่าสามารถใช้ได้ในช่วงของการบำรุงลำต้น กิ่ง ใบให้รอดพ้นจากแมลงและโรคต่างๆ เราต้องรู้จักใช้เป็นช่วงเวลา ไม่ใช้พร่ำเพรื่อโดยตลอด เพราะไม่แค่ต้นมะยงชิด มะปรางหวานจะรับสารเคมีแบบเยอะเกินไปแล้ว ตัวผู้ใช้เองก็จะรับสารเคมีเข้าไปด้วย แต่สำหรับผมแล้วมีเคล็ดลับโดยรับประทานใบลางจืด ซึ่ง ปลูกไว้รับประทานล้างพิษเป็นประจำครับ ต้มดื่มน้ำลางจืดอร่อยกว่าชาเขียวเป็นไหนๆ ถ้าท่านใดแวะมา อยากลองทานให้โทรบอกล่วงหน้าจะต้มไว้รอนะครับ
การปลูกมะยงชิดเพื่อจำหน่ายก็เป็นเรื่องที่ไม่อยากอุบไว้ สิ่งสำคัญคือเรื่องของสายพันธุ์ที่จะปลูก มี หลายท่านมาถามว่าทำไมมะยงชิดที่สวนผมถึงมีรสหวาน อร่อย กว่าที่ซื้อจากที่อื่น ผมบอกได้เลยครับว่า มะยงชิดที่คุณซื้อจากที่อื่น ซึ่งมีราคาถูกกว่า สีซีดกว่า เป็นมะยงชิดที่ไม่ใช่พันธุ์แท้ มีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ติดรสเปรี้ยว ถ้าลองชิมดูก็จะทราบครับ ซึ่งเกษตรกรเหล่านั้นก็คงไม่ทราบ เสียเวลาปลูกจนขายได้ ก็ต้องนำออกมาขายกัน ลดราคา ไปเรื่อยๆ จนตลาดมะยงชิดของนครนายกเราแย่กันไปเลยครับ เพราะคนที่มาซื้อก็คิดว่ามะยงชิดเหมือนกัน พอชิมไปไม่อร่อย ก็เลยไม่ติดตลาด บอกว่าไม่เห็นอร่อยเลย แต่ถ้าเป็นมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าของนครนายกโดยแท้ ก็จะมีสีสันและรสอร่อยมากๆ จนติดใจ หาชิมกันทุกปีเลยหละครับ
วิธีการปลูกมะยงชิดสำหรับมือใหม่ก็ มีเคล็ดลับที่ไม่ยากนัก บอกก่อนนะครับว่าอย่ายึดหลักทฤษฎีมากเกินไป ที่ สวนผมเองก็เป็นดินเหนียว เวลาปลูกก็ง่ายๆ ไม่ยึดหลักอะไรมาก สิ่งสำคัญในระยะแรกคือมีร่มเงา น้ำไม่ขัง เป็นพอครับ ส่วนดินเรามีวิธีทำปุ๋ยที่หน้าดิน ให้เกิดดินที่ร่วนซุยได้ โดยการใช้การปรับปรุงดินก็ไม่ยากนะครับ โดยการการเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ง่ายจำพวกซากพืชซากสัตว์ลงไปบนผิว ดินรอบต้น ปริมาณจุลินทรีย์ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮิวมัสในดินถูกสลายตัวได้มากขึ้น การ ทำดินให้แห้งและชื้นสลับกันเป็นการทำให้บางส่วนของฮิวมัสซึ่งดูดยึดอยู่กับ อนุภาคดินเหนียวหลุดออกมาอยู่ในสภาพแขวนลอยได้ทำให้จุลินทรีย์สามารถย่อย สลายฮิวมัสได้ง่ายขึ้น แค่นี้ดินก็จะมีวัตถุบำรุงดินเกิดขึ้นแล้วครับ
การใช้ปุ๋ยกับมะยงชิด ต้อง ใช้หลายรอบ เริ่มจากเมื่อเราเก็บผลผลิตของปีก่อนๆ หมดแล้ว ก็พักต้นสักประมาณ 1 เดือน ตัดแต่งทรงพุ่มเล็กน้อย แล้วก็ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย เป็นปุ๋ยหมักผสมมูลสัตว์ก็ได้ ใส่ ไปเยอะๆ ได้เลยครับ เป็นการปรับโครงสร้างของดิน อันนี้เป็นเคล็ดลับที่สวนเราทำมาโดยตลอด ถ้าเลือกปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากเศษซากพืชนั้น ธาตุอาหารอาจมีไม่มากพอ แต่ว่าปรับโครงสร้างของดินได้ดีมาก สามารถจะปรับดินที่เป็นดินทราย ดินเหนียวให้เป็นดินที่ร่วนซุย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชได้ มีหลายท่านที่ต้องการปลูกมะยงชิดแล้วมีปัญหาว่าที่ดินของท่านเป็นดินทราย ดินเหนียว โทรหาผม ชอบถามว่าที่บ้านดินเป็นดินที่ไม่ใช่ดินร่วนปลูกได้มั๊ย ผม บอกได้เลยว่าดินในทุกพื้นที่ปลูกได้เหมือนกันครับ ดินเหนียวก็ปลูกได้ ดินบนภูเขาก็ปลูกได้ ต้องลองปลูกดูนะครับ ถ้าจะปลูกมะยงชิดจะปลูกได้มั๊ย ก็ไม่ยากอะไร ขุดหลุมปลูกให้กว้างสักหน่อยนะครับ ประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร แล้วก็หมักปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอาจเสริมมูลสัตว์บ้างหมักไว้ข้ามปี เอาปุ๋ยนี้ใส่ลงในหลุม อาจผสมกับดินหน้าหลุมเหมือนที่เล่าไปก่อนหน้านี้แล้วเรื่องฮิวมัส ใส่ ไปพอประมาณรับรองว่าปลูกพืชอะไรก็งาม เคล็ดลับนี้เอามาแจก แบ่งกันทำครับ ต่อไปก็ไม่ต้องสนใจว่าดินเดิมของพื้นที่เราจะมีสภาพเป็นอย่างไร ส่วนในระยะยาว เมื่อต้นมะยงชิดโตขึ้น จะเป็นร่มเงาปกป้องหน้าดิน หญ้าจะงอกขึ้น เกิดอินทรีย์วัตถุ สภาพดินโดยรวมในสวนก็จะเปลี่ยนไปครับ
เคยมีคนถามว่าปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยชีวภาพต่างกันอย่างไร และปุ๋ยแต่ละชนิดจะนำไปใช้ในรูปแบบใด ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด คำตอบแบบว่าง่ายๆของผมก็คือ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักนั่นเอง นำไปใช้ได้ แต่เห็นผลช้า เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการย่อยสลาย ระยะหนึ่ง ประมาณ 3-6 เดือน โดยย่อยอยู่ในแปลงที่ใส่ลงไปแล้วนั่นเอง ส่วนปุ๋ยที่หมักแล้วก็จะมีความละเอียดพอที่จะละลายกับน้ำ แล้วพืชก็ดูดซึมไปใช้ได้เลย ปัญหาก็คือปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักจะปนเปื้อนด้วยเชื้อราสาเหตุโรคพืช และมีเมล็ดวัชพืชปนอยู่ และในช่วง ที่เกิดการหมักตัวบนแปลง ก็จะเกิดความร้อน ทำให้พืชชงักการเจริญเติบโต (ถ้าใส่มากไป) เค้าจึงได้มีการคิดค้นหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักโดยแนวทางชีวภาพ เป็นปุ๋ยแบบสำเร็จใส่ได้ทันที ก็เลยเรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพซึ่งมีจุลินทรีย์ผสมอยู่
ชีวิตของคนที่เริ่มทำอะไรก็เหมือนกับการเดินทางด้วยเท้าเข้าไปในป่ารก มีเป้าหมายก็คือทองคำบนยอดเขาข้างหน้า ระหว่างที่เดินทางก็หวังว่าเมื่อถึงที่นั่นแล้วก็คงจะสุขสบาย แต่เมื่อระหว่างทาง เราจะได้เรียนรู้ว่ามันไม่ง่ายเลย มีทั้งกิ่งไม้ขีดข่วน หนามตำเท้า เหน็ดเหนื่อยหนักหนา บางคนไปถึง บางคนก็ท้อเสียก่อน และไปไม่ถึง เปรียบเทียบเหมือนหลายท่านที่กำลังจะปลูกต้นมะยงชิดนั่นแหละครับ คุณก็กำลังอยู่ในช่วงของการเดินทาง ผมหวังว่าคุณจะมีกำลังใจ ไม่ย่อท้อ และเดินทางไปให้ถึงทองคำของคุณให้ได้นะครับ
ถ้าไม่ค่อนแน่ใจว่าจะปลูกได้มั๊ยลองอ่านทฤษฎีดูนะครับ แต่ว่่าไม่ต้องตรงเป๊ะทุกอย่างตามนี้ก็ได้ครับ
การเตรียมดินปลูกมะยงชิด
ดินร่วน เป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมากที่สุดหากเป็นดินปนทราย หรือดินเหนียวต้องปรับปรุงดินให้เหมาะสมแก่การปลูกเสียก่อน โดยใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักมาผสม ทำให้ดินปนทรายอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น ดูดซับความชื้นได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวก็เช่นกันการใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก หรือแกลบดิบผสมจะทำให้ดินเหนียวร่วนซุยขึ้น
การปลูก
สำหรับเคล็ดลับในการปลูกมะยงชิดนั้น บางครั้งเราต้องใช้แนวทางการจัดการสวนแบบชีวภาพร่วมด้วย แต่ละสวนก็จะมีเคล็ดลับในการปลูกมะยงชิดที่แตกต่างกันออกไป สำหรับสวนมะยงชิดของเราเป็นแบบผสมผสานตามหลักทฤษฎีใหม่ ภายใต้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง ต้อง มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมด้วย เพราะว่ามีธาตุอาหารต่างๆ โดยครบถ้วน จะปรับปรุงโครงสร้างของลำต้นให้แข็งแรง เพื่อให้ได้มะยงชิดที่ผลใหญ่ ผิวสวย สีแดงส้มจัดๆ เนื้อแน่นกรอบ หวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ทานได้โดยปลอดภัย
การคัดเลือกสายพันธุ์มะยงชิด มะปรางหวาน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าปลูกสายพันธุ์ที่ไม่ดีถึงจะมีการบำรุงดูแลต้นดีแค่ไหน ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ดีตามไปด้วย ดังนั้นเรื่องสายพันธุ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การได้สายพันธุ์จากเจ้าของสวนที่มีพันธุ์แท้จริงๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ถ้าต้องการพันธุ์ทูลเกล้า ก็ต้องมาที่นครนายก (สวนผมพันธุ์แท้ครับ) เพราะอย่างบางท่านไม่ใช่เซียนมะยงชิด ซื้อจากที่ต่างๆบ้าง ข้างทางบ้างก็ดูไม่ออก เมื่อปลูกไปก็เสียเวลาปลูก กว่าจะทราบก็นานหลายปี เรียกว่าเสียเวลาปลูกกันไปนานเลยทีเดียว
เคล็ดลับในการใช้สารเคมีกับมะยงชิดนั้นถามว่ามีความจำเป็นแค่ไหน และสามารถใช้ได้มั๊ย? ตอบได้นะครับว่าสามารถใช้ได้ในช่วงของการบำรุงลำต้น กิ่ง ใบให้รอดพ้นจากแมลงและโรคต่างๆ เราต้องรู้จักใช้เป็นช่วงเวลา ไม่ใช้พร่ำเพรื่อโดยตลอด เพราะไม่แค่ต้นมะยงชิด มะปรางหวานจะรับสารเคมีแบบเยอะเกินไปแล้ว ตัวผู้ใช้เองก็จะรับสารเคมีเข้าไปด้วย แต่สำหรับผมแล้วมีเคล็ดลับโดยรับประทานใบลางจืด ซึ่ง ปลูกไว้รับประทานล้างพิษเป็นประจำครับ ต้มดื่มน้ำลางจืดอร่อยกว่าชาเขียวเป็นไหนๆ ถ้าท่านใดแวะมา อยากลองทานให้โทรบอกล่วงหน้าจะต้มไว้รอนะครับ
การปลูกมะยงชิดเพื่อจำหน่ายก็เป็นเรื่องที่ไม่อยากอุบไว้ สิ่งสำคัญคือเรื่องของสายพันธุ์ที่จะปลูก มี หลายท่านมาถามว่าทำไมมะยงชิดที่สวนผมถึงมีรสหวาน อร่อย กว่าที่ซื้อจากที่อื่น ผมบอกได้เลยครับว่า มะยงชิดที่คุณซื้อจากที่อื่น ซึ่งมีราคาถูกกว่า สีซีดกว่า เป็นมะยงชิดที่ไม่ใช่พันธุ์แท้ มีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ติดรสเปรี้ยว ถ้าลองชิมดูก็จะทราบครับ ซึ่งเกษตรกรเหล่านั้นก็คงไม่ทราบ เสียเวลาปลูกจนขายได้ ก็ต้องนำออกมาขายกัน ลดราคา ไปเรื่อยๆ จนตลาดมะยงชิดของนครนายกเราแย่กันไปเลยครับ เพราะคนที่มาซื้อก็คิดว่ามะยงชิดเหมือนกัน พอชิมไปไม่อร่อย ก็เลยไม่ติดตลาด บอกว่าไม่เห็นอร่อยเลย แต่ถ้าเป็นมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าของนครนายกโดยแท้ ก็จะมีสีสันและรสอร่อยมากๆ จนติดใจ หาชิมกันทุกปีเลยหละครับ
วิธีการปลูกมะยงชิดสำหรับมือใหม่ก็ มีเคล็ดลับที่ไม่ยากนัก บอกก่อนนะครับว่าอย่ายึดหลักทฤษฎีมากเกินไป ที่ สวนผมเองก็เป็นดินเหนียว เวลาปลูกก็ง่ายๆ ไม่ยึดหลักอะไรมาก สิ่งสำคัญในระยะแรกคือมีร่มเงา น้ำไม่ขัง เป็นพอครับ ส่วนดินเรามีวิธีทำปุ๋ยที่หน้าดิน ให้เกิดดินที่ร่วนซุยได้ โดยการใช้การปรับปรุงดินก็ไม่ยากนะครับ โดยการการเติมอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ง่ายจำพวกซากพืชซากสัตว์ลงไปบนผิว ดินรอบต้น ปริมาณจุลินทรีย์ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮิวมัสในดินถูกสลายตัวได้มากขึ้น การ ทำดินให้แห้งและชื้นสลับกันเป็นการทำให้บางส่วนของฮิวมัสซึ่งดูดยึดอยู่กับ อนุภาคดินเหนียวหลุดออกมาอยู่ในสภาพแขวนลอยได้ทำให้จุลินทรีย์สามารถย่อย สลายฮิวมัสได้ง่ายขึ้น แค่นี้ดินก็จะมีวัตถุบำรุงดินเกิดขึ้นแล้วครับ
การใช้ปุ๋ยกับมะยงชิด ต้อง ใช้หลายรอบ เริ่มจากเมื่อเราเก็บผลผลิตของปีก่อนๆ หมดแล้ว ก็พักต้นสักประมาณ 1 เดือน ตัดแต่งทรงพุ่มเล็กน้อย แล้วก็ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย เป็นปุ๋ยหมักผสมมูลสัตว์ก็ได้ ใส่ ไปเยอะๆ ได้เลยครับ เป็นการปรับโครงสร้างของดิน อันนี้เป็นเคล็ดลับที่สวนเราทำมาโดยตลอด ถ้าเลือกปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากเศษซากพืชนั้น ธาตุอาหารอาจมีไม่มากพอ แต่ว่าปรับโครงสร้างของดินได้ดีมาก สามารถจะปรับดินที่เป็นดินทราย ดินเหนียวให้เป็นดินที่ร่วนซุย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชได้ มีหลายท่านที่ต้องการปลูกมะยงชิดแล้วมีปัญหาว่าที่ดินของท่านเป็นดินทราย ดินเหนียว โทรหาผม ชอบถามว่าที่บ้านดินเป็นดินที่ไม่ใช่ดินร่วนปลูกได้มั๊ย ผม บอกได้เลยว่าดินในทุกพื้นที่ปลูกได้เหมือนกันครับ ดินเหนียวก็ปลูกได้ ดินบนภูเขาก็ปลูกได้ ต้องลองปลูกดูนะครับ ถ้าจะปลูกมะยงชิดจะปลูกได้มั๊ย ก็ไม่ยากอะไร ขุดหลุมปลูกให้กว้างสักหน่อยนะครับ ประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร แล้วก็หมักปุ๋ยอินทรีย์จากเศษซากพืชอาจเสริมมูลสัตว์บ้างหมักไว้ข้ามปี เอาปุ๋ยนี้ใส่ลงในหลุม อาจผสมกับดินหน้าหลุมเหมือนที่เล่าไปก่อนหน้านี้แล้วเรื่องฮิวมัส ใส่ ไปพอประมาณรับรองว่าปลูกพืชอะไรก็งาม เคล็ดลับนี้เอามาแจก แบ่งกันทำครับ ต่อไปก็ไม่ต้องสนใจว่าดินเดิมของพื้นที่เราจะมีสภาพเป็นอย่างไร ส่วนในระยะยาว เมื่อต้นมะยงชิดโตขึ้น จะเป็นร่มเงาปกป้องหน้าดิน หญ้าจะงอกขึ้น เกิดอินทรีย์วัตถุ สภาพดินโดยรวมในสวนก็จะเปลี่ยนไปครับ
เคยมีคนถามว่าปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยชีวภาพต่างกันอย่างไร และปุ๋ยแต่ละชนิดจะนำไปใช้ในรูปแบบใด ถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด คำตอบแบบว่าง่ายๆของผมก็คือ ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักนั่นเอง นำไปใช้ได้ แต่เห็นผลช้า เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการย่อยสลาย ระยะหนึ่ง ประมาณ 3-6 เดือน โดยย่อยอยู่ในแปลงที่ใส่ลงไปแล้วนั่นเอง ส่วนปุ๋ยที่หมักแล้วก็จะมีความละเอียดพอที่จะละลายกับน้ำ แล้วพืชก็ดูดซึมไปใช้ได้เลย ปัญหาก็คือปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักจะปนเปื้อนด้วยเชื้อราสาเหตุโรคพืช และมีเมล็ดวัชพืชปนอยู่ และในช่วง ที่เกิดการหมักตัวบนแปลง ก็จะเกิดความร้อน ทำให้พืชชงักการเจริญเติบโต (ถ้าใส่มากไป) เค้าจึงได้มีการคิดค้นหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักโดยแนวทางชีวภาพ เป็นปุ๋ยแบบสำเร็จใส่ได้ทันที ก็เลยเรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพซึ่งมีจุลินทรีย์ผสมอยู่
ชีวิตของคนที่เริ่มทำอะไรก็เหมือนกับการเดินทางด้วยเท้าเข้าไปในป่ารก มีเป้าหมายก็คือทองคำบนยอดเขาข้างหน้า ระหว่างที่เดินทางก็หวังว่าเมื่อถึงที่นั่นแล้วก็คงจะสุขสบาย แต่เมื่อระหว่างทาง เราจะได้เรียนรู้ว่ามันไม่ง่ายเลย มีทั้งกิ่งไม้ขีดข่วน หนามตำเท้า เหน็ดเหนื่อยหนักหนา บางคนไปถึง บางคนก็ท้อเสียก่อน และไปไม่ถึง เปรียบเทียบเหมือนหลายท่านที่กำลังจะปลูกต้นมะยงชิดนั่นแหละครับ คุณก็กำลังอยู่ในช่วงของการเดินทาง ผมหวังว่าคุณจะมีกำลังใจ ไม่ย่อท้อ และเดินทางไปให้ถึงทองคำของคุณให้ได้นะครับ
ถ้าไม่ค่อนแน่ใจว่าจะปลูกได้มั๊ยลองอ่านทฤษฎีดูนะครับ แต่ว่่าไม่ต้องตรงเป๊ะทุกอย่างตามนี้ก็ได้ครับ
การเตรียมดินปลูกมะยงชิด
ดินร่วน เป็นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมากที่สุดหากเป็นดินปนทราย หรือดินเหนียวต้องปรับปรุงดินให้เหมาะสมแก่การปลูกเสียก่อน โดยใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักมาผสม ทำให้ดินปนทรายอุ้มน้ำได้ดียิ่งขึ้น ดูดซับความชื้นได้มากขึ้น ส่วนดินเหนียวก็เช่นกันการใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก หรือแกลบดิบผสมจะทำให้ดินเหนียวร่วนซุยขึ้น
การปลูก
มะยงชิดไม่ชอบสภาพชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง ถ้าเป็นที่ต่ำควรยกร่อง เพื่อระบายน้ำ ส่วนที่มีกรดด่าง ดินเหนียวหรือมีกรวดมีหินปน ควรปรับปรุงดินก่อน
1. ระยะการปลูกแต่ละต้นห่างกัน 4 x 4 เมตร, 6 x 6 เมตร, หรือ 8 x 8 เมตรขึ้นอยู่กับผู้ปลูกว่าต้องการจำนวนต้นต่อไร่มากเท่าใด หากต้องการมากให้เลือก 4 x 4 เมตรและปลูกแบบสลับฟันปลา
2. ขุดหลุมลึกประมาณ 30 ซม x ก. 50 ซม. x ย. 50 ซม. อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่ขนาดความโตของต้น แต่ต้องไม่ลึกจนไป
3. เตรียมแกลบดิบผสมปุ๋ยคอกพอประมาณรองก้นหลุม หากไม่มีจริง ๆ ไม่ต้องใส่ก็ได้แล้วค่อยมาบำรุงภายหลัง
4. นำกิ่งพันธุ์ลงปลูกโดยแกะถุงพลาสติกออกระวังอย่าให้ดินในถุงแตก กลบดินเท่ากับรอยดินในถุงเดิมและอย่าลืมแกะพลาสติกตรงที่พันรอยทาบออกด้วย (แนะนำว่าก่อนปลูก 1-2 วันไม่ต้องรดน้ำจะทำให้ดินแห้งเกาะรากแน่นขึ้น ดินไม่แตก)
5. ปักไม้ค้ำยันกันลมโยกต้น (อย่าปักใกล้โคนต้น)
6. ถ้าปลูกในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนจัด ให้หาหญ้าแห้งคลุมโคนต้น พร้อมทำร่มเงาพรางแสงแดดให้ด้วย
7. รดน้ำให้เปียกโชก หลังจากที่ปลูกเสร็จ (ถ้าใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะได้ผลดีกว่า)
การดูแลรักษา
รดน้ำ 2-3 วันครั้ง หรือหากดินแห้งอากาศร้อนก็รดวันเว้นวันแต่ต้องไม่แฉะจนน้ำท่วมขัง
1. ใส่ปุ๋ยทุก 6 เดือน แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพ
2. สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ ทุกครั้งที่ต้นแตกใบอ่อนต้องระวังแมลงกัดกินใบโดยต้องฉีดยาป้องกัน แนะนำให้ใช้สารไล่แมลง ฉีดสัปดาห์ละครั้ง หรืออาจใช้สารชีวภาพ, ควันไม้ ฯลฯ แล้วแต่สะดวก
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
ตอบลบดีมากที่ให้ความรู้
ตอบลบดีมากที่ให้ความรู้
ตอบลบผมเข้ามาชมแล้วนะครับ คุณ ตา/ปู่ นิยม และ คุณ ยาย/ย่า รัตนา เห็นปุ๊ปจำได้เลย แหมถอดเสื้อโชว์กล้ามได้ใจจริง ๆ ผมก็ถอดเสื้อเข้าสวนเช่นกัน อิ อิ...
ตอบลบพมอยู่บ้านตากกำลังปลูกตอนนี้ขอคูณที่ไห้ความรู้ครับคูณลุงและป้า
ตอบลบให้ความรู้ดีมากๆ
ตอบลบ